ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อาเธอร์ ลีโอนาร์ด ชอว์โลว์

อาเธอร์ ลีโอนาร์ด ชอว์โลว์ (5 พฤษภาคม 2464 – 28 เมษายน 2542) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ให้แนวคิดคนแรกๆ ในการประดิษฐ์เมเซอร์ในย่านความถี่ของแสง, ในฐานะผู้ให้แนวคิดในการกักอะตอมด้วยแสงเลเซอร์ และ จากผลงานการศึกษาวัดค่าความถี่จำเพาะของโมเลกุลด้วยเลเซอร์ ผลงานหลังนี้ส่งผลให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2524

อาเธอร์ ชอว์โลว์ เป็นบุตรของ บิดาชาวแลตเวีย กับ เฮเลน แมสัน มารดาชาวแคนาดา บิดาของเขาเป็นนักศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ ได้เดินทางมาจากยุโรป เพื่อศึกษาต่อที่ อเมริกา ราวสิบปีก่อนที่เขาจะเกิด บิดาของเขาตัดสินใจอยู่ที่นิวยอร์กหลังจากประสบอุปสรรคที่ทำให้ต้องพักเรื่องการศึกษาต่อไว้ อาเธอร์ ชอว์โลว์ เกิดที่ เมาท์ เวอร์นอน ใน นิวยอร์ก และเมื่อเขาอายุได้เพียงสามปี ครอบครัวของเขาก็ได้อพยพไปยังแคนาดา

เขาจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อเขาอายุได้ 16 ปี และ ได้รับทุนการศึกษาได้เรียนต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยของโตรอนโต เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เขาได้เข้าศึกษาต่อในชั้นสูงขึ้นที่มหาวิทยาลัยเดียวกันนั้นเอง อย่างไรก็ดี การศึกษาได้ถูกระงับชั่วคราวขณะที่เขาศึกษาอยู่เนื่องจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และ เมื่อสงครามสิ้นสุดลงเขาได้เริ่มทำงานในระดับดุษฎีบัณฑิต กับศาสตราจารย์ แมลคอล์ม ครอว์ฟอร์ด ที่มหาวิทยาลัยเดิม และหลังจากจบการศึกษา ชอว์โลว์ได้รับทุนผู้ติดตาม และ ได้เข้าทำงานกับ ชาร์ลซ์ เทาซ์ ที่ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในฤดูหนาวของ ปี พ.ศ. 2493 ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การนำของ ราบี โดยที่มี นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลอีกไม่ต่ำกว่า 8 คนที่ทำงานอยู่ที่ภาควิชานั้นด้วย

ชอว์โลว์ได้แต่งงานกับ ออเรลเลีย เทาซ์ น้องสาวของ ชาร์ลซ์ เทาซ์ ในปี 2494 พวกเขามีบุตรธิดาร่วมกันสามคน คือ อาเธอร์ จูเนียร์, เฮเลน และ เอดิธ อย่างไรก็ดี อาเธอร์ จูเนียร์ บุตรชายของเขาเป็นโรคออทิสติก ซึ่งทำให้มีความสามารถในการพูดน้อยมาก

ในปลายปี 2494 ชอว์โลว์ ได้เข้าทำงานที่ ห้องปฏิบัติการทางด้านโทรศัพท์ แบลล์ (เบลล์แล็บส์) เกี่ยวกับงานทางด้านตัวนำยิ่งยวด ในปี 2498 ระหว่างที่ทำงานที่เบลล์แล็บส์นั้น เขาและ ชาร์ลซ์ เทาซ์ ได้ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง การหาความถี่จำเพาะช่วงไมโครเวฟ และ ในปี 2501 พวกเขาได้เตรียมเสนอจดสิทธิบัตร และส่งในนามของ แบลล์เล็บส์ แต่สิทธิบัตรนี้ได้ถูกแย้งจาก กอร์ดอน กูลด์ จากนั้นในปี พ.ศ. 2504 เขาได้เข้าทำงานในฐานะศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เขาทำงานอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเกษียณไปเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ ในปี 2539

ชอว์โลว์ และ ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต ฮอฟสแตดเตอร์ ที่ สแตนฟอร์ด ผู้ซึ่งมีบุตรเป็นโรคออทิสติก เหมือนกัน ได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันเพื่อหาทางรักษาบุตรของตน บุตรของชอว์โลว์นั้นได้เข้ารับการดูแลที่ศูนย์พิเศษสำหรับผู้ป่วยออทิสติก โดยในภายหลังชอว์โลว์ได้รวบรวมทุนเพื่อตั้งสถาบันเพื่อดูแลผู้ป่วยออทิสติก ในเมือง พาราไดซ์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย และในปีพ.ศ. 2542 สถาบันนี้ได้รับการตั้งชื่อเป็น ศูนย์อาเธอร์ ชอว์โลว์ ก่อนหน้าที่เขาเสียชีวิตไม่นานนัก

ชอว์โลว์เป็นผู้สนับสนุนทฤษฎีที่เป็นที่ถกเถียง เกี่ยวกับ การช่วยเหลือการสื่อสารสำหรับผู้ป่วยออทิสติก นอกเหนือไปจากงานวิจัยของเขาทางด้านทัศนศาสตร์ โดยเฉพาะ เลเซอร์ และ การหาค่าความถี่จำเพาะด้วยเลเซอร์ เขายังสามารถที่จะทำการค้นคว้าวิจัยทางด้านตัวนำยิ่งยวด และ การสั่นพ้องแม่เหล็กนิวเคลียร์ได้อีกด้วย เขาได้รางวัลโนเบลในปีพ.ศ. 2524 ร่วมกับ นิโคลาส โบลมเบอร์เกน "สำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการหาความถี่จำเพาะโดยใช้เลเซอร์ (laser spectroscopy)" และ ไค มานเน บอร์เย ซีกบาห์น "สำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการหาความถี่จำเพาะความละเอียดสูงด้วยอิเล็กตรอน"

ในปี 2534 บริษัท เอ็นอีซี (NEC Corporation) และ สมาคมฟิสิกส์อเมริกัน (American Physical Society) ได้ร่วมกันจัดตั้งรางวัล อาเธอร์ ล. ชอว์โลว์ ใน วิทยาศาสตร์ทางด้านเลเซอร์ (Arthur L. Schawlow Prize in Laser Science) รางวัลนี้ได้ถูกมอบเป็นประจำทุกปีสำหรับผู้ที่ความโดดเด่นในการมีส่วนร่วมเพื่องานวิจัยพื้นฐานโดยใช้เลเซอร์

ชอว์โลว์เสียชีวิตในเมืองพาโล อัลโต มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เนื่องจากเป็น มะเร็งในเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) โดยมีอายุรวมได้ 77 ปี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187